“วิกฤตเศรษฐกิจ” ที่อาจเกิดขึ้นในปี 2568 (2025)
เนื่องจากเศรษฐกิจโลกในปัจจุบันเปลี่ยนไปอย่างไว ธุรกิจต้องเผชิญกับความท้าทายที่มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความผันผวนของการเงินโลก การเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์ และผลกระทบจากอากาศที่เปลี่ยนแปลง บทความนี้จะช่วยให้เห็นถึงสัญญาณเตือนของปัญหาเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นในปี 2568 และวิธีเตรียมรับมือกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น
1. สัญญาณเตือน “วิกฤตเศรษฐกิจ”
หนี้สินทั้วโลกเพิ่มสูงขึ้น
หนี้สินของโครงสร้างรัฐบาลและภาคเอกชนทั่วโลกนั้นสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว อัตราหนี้สินต่อ GDP ในหลายๆประเทศแตะถึงจุดเสี่ยง เป็นสัญญาณว่าแต่ระประเทศกำลังจะประสบณ์ปัญหาเศรษฐกิจ
ธนาคารมีนโยบายการเงินเข้มงวด
ในหลายๆประเทศธนาคารได้ออกนโยบายปรับดอกเบี้ยขึ้นเพื่อสู้กับอัตราเงินเฟ้อ นั้นจะส่งผลให้ต้นทุนการกู้ยืมเพิ่มขึ้น กำไรที่ได้รับน้อยลง และทำให้ทั้งด้านธุรกิจและผู้บริโภคเกิดการชะลอการใช้จ่าย
มีความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์
เกิดความตึงเครียดระหว่างประเทศมหาอำนาจ สหรัฐอเมริกาและจีน มีสงครามการค้ามีการตั้งกำแพงภาษีเพื่อป้องกันการค้าที่ขาดดุล รวมถึงสงครามในที่ต่างๆบนโลก ยูเครน-รัสเซีย , อิสราเอล-ประเทศอาหรับ นั้นจะส่งผลให้ห่วงโซ่อุปทานโลกถูกกระทบ
สิ่งแวดล้อมโลกแปรปรวน
ทุกวันนี้สิ้งแวดล้อมมลภาวะในโลกมีการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงนำไปสู่ภัยพิบัติที่รุนแรงขึ้น ทั้งหมดจะส่งผลกับเรื่อง ผลผลิต การเกษตร และอาจส่งผลต่อแหล่งผลิตที่เกิดภัยพิบัติ
โลกพึ่งพาเทคโนโลยีมากขึ้น
การพึ่งพาเทคโนโลยีในระบบการเงินมากเกินไป เช่น สกุลเงินดิจิทัล และ AI อาจนำมาซึ่งความเสี่ยงที่จะมีการการโจมตีทางไซเบอร์และปัญหาด้านความปลอดภัยข้อมูล
2. ผลกระทบของ “วิกฤตเศรษฐกิจ” ที่อาจเกิดขึ้น
ปัญหาการว่างงาน : ธุรกิจอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบ อาจต้องปรับลดต้นทุนโดยการลดแรงงาน หรือปิดตัวลง ทำให้เกิดการว่างงาน
ความเชื่อมั่นของนักลงทุน : นักลงทุนมองเห็นถึงความเสี่ยง ทำให้การลงทุนเพิ่มเติมเกิดการชะลอตัว ทำให้การเงินฝืดขึ้น ไม่เกิดการหมุนเวียนของเงินทุนธุรกิจ
ค่าครองชีพที่สูงขึ้น : การผลิตที่ลดลง ทำให้สินค้าขาดแคลน วัตถุดิบต่างๆ จะต้องทยอยปรับราคาขึ้น ทำให้ค่าครองชีพของแต่ละครัวเรือนสูงขึ้น
ความเหลื่อมล้ำทางสังคม : การที่เกิดผู้ได้รับผลกระทบจะต้องมีผู้ได้รับผลประโยชน์ทางการเงิน ช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนจะกว้างมากขึ้น อาจนำไปสู่ความไม่สงบทางการเมือง
3. วิธีเตรียมตัวรับมือ “วิกฤตเศรษฐกิจ”
วิธีรับมือกับวิกฤตสำหรับธุรกิจในไทย เมื่อมีความเสี่ยงของวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2568 ธุรกิจในไทยต้องมีการปรับตัวเพื่อรับมือกับความไม่มั่นคงและเพิ่มความยืดหยุ่นในด้านการเงิน กลยุทธ์ที่ธุรกิจสามารถนำไปใช้เพื่อความอยู่รอดและเติบโตในสถานการณ์ที่ท้าทาย
1. บริหารจัดการกระแสเงินสดอย่างรอบคอบ
ควรมีเงินสดสำรอง : ตรวจสอบและควบคุมกระแสเงินสดให้เหมาะสม เช่น ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น และเก็บเงินสดสำรองไว้เพียงพอสำหรับการดำเนินงานในช่วงวิกฤต
จัดทำแผนฉุกเฉิน : พิจารณาวางแผนการกู้ยืมหรือปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อให้มีแหล่งเงินทุนในกรณีที่รายได้ลดลง
2. ลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น
เพิ่มช่องทางการขาย : หากธุรกิจพึ่งพิงลูกค้าหรือซัพพลายเออร์ในตลาดเดียวมากเกินไป ควรพิจารณาขยายตลาดไปยังภูมิภาคหรือประเทศอื่น หรือช่องทางอื่นเพื่อขายสินค้าหากทางไหนมีปัญหาก็จะมีอีกช่องทางรองรับ
ขยายผลิตภัณฑ์และบริการ : เพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่หรือปรับปรุงบริการเดิมให้ตอบโจทย์มากขึ้น ให้ตรงตามความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของลูกค้า
3. ใช้เทคโนโลยีเพิ่มคุณภาพ
ใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับตัวธุรกิจ : ลงทุนในเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เพื่อลดต้นทุนหรือเพิ่มประสิทธิภาพให้การดำเนินธุรกิจ
4. สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า
เพิ่มความพอใจของลูกค้า : รับฟังข้อเสนอแนะจากลูกค้า ปรับปรุงแก้ไขการบริการให้ลูกค้าพอใจ เพื่อรักษาฐานลูกค้าที่มีอยู่ ให้ใช้บริการหรือซื้อขายกันต่อไป
กลยุทธ์การตลาดเฉพาะกลุ่ม : มุ่งเน้นการตลาดแบบ Personalization เพื่อสร้างความภักดีของลูกค้า
5. เครือข่ายและความร่วมมือ
พันธมิตรทางธุรกิจ : การที่มีธุรกิจอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกันหรืออุตสาหกรรมเสริม แบ่งปันข้อมูลและทรัพยากร เพื่อให้ผลลัพธ์ทางธุรกิจมากขึ้นเป็นเรื่องที่ดีสำหรับการรับมือ “วิกฤตเศรษฐกิจ”
สนับสนุนซัพพลายในประเทศ : การใช้ซัพพลายในประเทศเพื่อลดการพึ่งพาจากนอกประเทศจะช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อธุรกิจ
6. ใช้โอกาสจากวิกฤต
ค้นหาตลาดใหม่: ในช่วงวิกฤต ผู้บริโภคอาจเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการซื้อ ธุรกิจควรปรับตัวเพื่อตอบสนองความต้องการใหม่
ควบรวมกิจการ: หากมีความสามารถทางการเงิน ธุรกิจสามารถใช้วิกฤตเป็นโอกาสในการเข้าซื้อกิจการหรือร่วมทุนกับบริษัทที่มีศักยภาพ
7. มีแหล่งสินเชื่อในยามฉุกเฉิน
สินเชื่อธุรกิจฉุกเฉิน : การใช้สินเชื่อไม่ใช่เรื่องแปลกในการทำธุรกิจ เพราะผู้ประกอบการธุรกิจใหญ่ๆหลายแห่งก็มีแหล่งเงินทุนเอาไว้ใช้ยามฉุกเฉิน สำรองสำหรับรับมือเหตุการณ์ฉุกเฉินที่จะเข้ามาโดยที่ไม่ทันตั้งตัว
ธุรกิจในไทยต้องเตรียมพร้อมรับมือกับ “วิกฤตเศรษฐกิจ” โดยเพิ่มความยืดหยุ่นทางการเงิน ลดความเสี่ยง และมุ่งเน้นการสร้างมูลค่าให้ลูกค้า ต้องมีการวางแผนล่วงหน้าและการปรับตัวอย่างเหมาะสมจะ ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจสามารถผ่านพ้นวิกฤตและมีโอกาสเติบโตได้ในระยะยาว
Comments